Login

Register

Login

Register

Login

Register

WM3 โปรแกรมสต๊อกสินค้า บริหารจัดการคลังสินค้า

WM3 โปรแกรมสต๊อกสินค้า จัดการคลังสินค้า

WM3 - โปรแกรมสต๊อกสินค้า บริหารจัดการคลังสินค้า

WMS คืออะไร และ ทำไมคุณต้องใช้?

WMS ย่อมาจาก warehouse management system ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการและควบคุมสินค้าและการดำเนินงานในคลังสินค้าได้ WMS สามารถให้การมองเห็นแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับตำแหน่ง ปริมาณ และสถานะของสินค้าทุกชิ้นในคลังสินค้า และยังเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการรับ เก็บ เลือก บรรจุ และจัดส่งสินค้า WMS สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากสำหรับธุรกิจที่มีการจัดการสินค้าสต๊อก เช่น ผู้ขายส่ง ผู้ขายปลีก ผู้ผลิต และผู้ให้บริการโลจิสติกส์

ประโยชน์ของ WMS ได้แก่:
เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน:
WMS สามารถทำให้กระบวนการและการทำงานในคลังสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีระบบ เพื่อลดข้อผิดพลาด เสียเวลา เสียเงิน และต้นทุนแรงงาน WMS ยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ เช่น ERP, TMS, และ SCM เพื่อประสานและปรับเวลารถไหลของสินค้าตลอดโซ่อุปทาน

เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า:
WMS สามารถเพิ่มความถูกต้องและความเร็วในการจัดส่งสินค้า เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่ถูกต้อง ตรงเวลา และตรงที่หมาย WMS ยังสามารถเปิดโอกาสให้มีการจัดส่งที่ยืดหยุ่นและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า เช่น การจัดส่งในวันเดียวกัน การซื้อแล้วไปรับเอง และการจัดการคืนสินค้า

เพิ่มความถูกต้องของสินค้า:
WMS สามารถติดตามและอัปเดตระดับและตำแหน่งของสินค้าในเวลาจริง โดยใช้เทคโนโลยี เช่น บาร์โค้ด RFID และ IoT ซึ่งสามารถป้องกันการขาดสินค้า สินค้าเกิน สูญหาย และเสื่อมสภาพ และยังช่วยในการพยากรณ์และเติมสินค้า

เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจ:
WMS สามารถให้ข้อมูลและการวิเคราะห์เกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลผลิตของการดำเนินงานในคลังสินค้า เช่น อัตราการหมุนเวียนของสินค้า อัตราการจัดส่งสินค้าที่ถูกต้อง การใช้แรงงาน และการใช้พื้นที่ เพื่อช่วยให้ผู้จัดการสามารถระบุปัญหา ความไม่มีประสิทธิภาพ และโอกาสในการปรับปรุง

วิธีเลือก WMS ที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ
มีผู้จำหน่าย และ พัฒนา WMS มากมายในตลาด โดยแต่ละประเภทและผู้ขายจะมีคุณสมบัติ ฟังก์ชัน และรูปแบบการกำหนดราคาที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการเลือก WMS ที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ นี่คือบางปัจจัยที่ควรพิจารณาเมื่อเลือก WMS

ความต้องการและเป้าหมายของธุรกิจ: คุณควรกำหนดปัญหาและความต้องการ การดำเนินงานในคลังสินค้าของคุณในปัจจุบัน เช่น การลดต้นทุน เพิ่มยอดขาย เพิ่มระดับบริการ คุณก็จะทราบ และ หา WMS ที่ตรงตามความต้องการของธุรกิจคุณ

โดยทั่วไป คุณสมบัติของโปรแกรมควรจะมีดังนี้

  • การรับเข้าคลังสินค้า ( Inbound )
  • การจ่ายออกจากคลังสินค้า (Outbound)
  • การบริหารจัดการ สินค้าคงคลัง (Inventory Management System)
  • การจัดการ ข้อมูลของ สินค้า (Item) ,สถานที่เก็บ (Location)
  • การจัดการผู้ใช้งานในระบบ (User Authorization)
  • ระบบแสดงผลการทำงาน (Dashboard)
  • รายงานต่างๆ (Report)
  • การเชื่อมต่อกับระบบ อื่น ๆ (Interface ) เช่น SAP ,SAP B1 , Dynamics AX ,Oracle เป็นต้น

การรับเข้าคลังสินค้า ( Inbound )

ระบบการทำงานในส่วนของการทำการรับสินค้าหรือการรับคืนสินค้ากลับมายังคลังสินค้า ในขั้นตอนนี้ การรับ จะเป็นการสร้างแผนรับ ในระบบเอง  , การ เชื่อมกับระบบ ERP ของลูกค้า หรือ การเชื่อมต่อข้อมูล ASN (Advanced Shipping Notice) จากผู้ขาย  ในขบวนการรับนี้ สามารถ พิมพ์สติกเกอร์ บาร์โค้ด เพื่อติดสินค้า หรือติดพาเลทได้ LPN (License plate number)

เมื่อทำการรับที่ ลานรับสินค้า (Inbound staging area) ระบบคลังสินค้า สามารถที่จะทำการ จัดเก็บสินค้า (Put a way) ได้ตามเงื่อนไขต่างๆ เช่น  ตามกลุ่มของสินค้า , หมายเลขการผลิต (Lot) ,วันที่หมดอายุ , สถานที่เก็บ เป็นต้น โดยระบบสามารถใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ แบบพกพา (PDA)  และบาร์โค้ดแบบ 2D (QR Code) ได้

การจ่ายออกจากคลังสินค้า (Outbound)

ระบบการทำงานในส่วนของการจ่ายสินค้าออกจากคลังสินค้า ในขั้นตอนนี้ การจ่าย จะเป็นการสร้างแผนแผนจ่าย ในระบบเอง  , การ เชื่อมกับระบบ ERP ของลูกค้า หรือ จากระบบ e-commerce ( Shopee  , Lazada ) ในขบวนการจ่าย ระบบคลังสินค้า สามารถ ทำการจ่ายได้ แบบจ่ายทีละใบจ่าย หรือการรวมใบจ่ายเพื่อทำการจ่าย (Grouping Order)  ในขั้นตอนการจ่าย ระบบ รองรับ จ่ายแบบ FIFO ,FEFO หรือการกำหนดค่าการจ่ายได้ ระบบคลังสินค้า

เมื่อแผนจ่ายถูกปล่อยออกให้พนักงานในคลังทำการหยิบสินค้า ระบบจะทำการจองสินค้า เพื่อทำการจ่าย และรองรับการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ แบบพกพา (PDA)  ในการจ่ายสินค้า และสามารถพิมพ์ ใบจัดสินค้า (Picking List) ,ใบส่งสินค้า (Delivery Note) ,ใบแจ้งสถานที่จัดส่งสินค้า (Shipping Label) เป็นต้น นอกจากนี้ ระบบคลังสินค้ายังรองรับ การทำการบรรจุสินค้า ( Packing ),  การตรวจสอบสินค้าก่อนขึ้นรถ (Checker)  การตัดสินค้าจากคลังสินค้า ระบบจะตัดเมื่อทำการ ยืนยันการจ่ายสินค้า (Ship Confirm)

การบริหารจัดการ สินค้าคงคลัง (Inventory Management System)

ระบบการทำงานของคลังสินค้า ในการจัดการการย้ายสินค้า (Change Location), การเปลี่ยนสถานะ (Change Status) , การนับสินค้ารองรับการนับแบบ Physical  Count และ  Cycle Count  และการปรับยอดสินค้า (Inventory Adjustment)

การจัดการ ข้อมูลของ สินค้า (Item) ,สถานที่เก็บ (Location)

การตั้งค่าของการใช้งาน สินค้า หรือสถานที่เก็บ ในระบบคลังสินค้า โดยผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าของสินค้า เช่น ชื่อ รหัสสินค้า รหัสบาร์โค้ด รูปสินค้า ขนาดน้ำหนัก  เป็นต้น ระบบยังให้ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าของการควบคุมสินค้า แบบ FIFO ,FEFO ,SN (Serial Number)  การตั้งค่าของสถานที่เก็บ สามารถกำหนดได้ว่า สถานที่เก็บนั้น สามารถวางสินค้าในรูปแบบต่างๆได้เช่น การปนกันของชนิดสินค้า รหัสการผลิต การหมดอายุของสินค้า (Expiration Date) และ ขนาด และน้ำหนักของ สถานที่เก็บที่รองรับสินค้า อีกทั้งยังรองรับ ลำดับการจัดเก็บ (Put a way sequence)  ลำดับการจ่ายสินค้า ( Pick sequence)

การจัดการผู้ใช้งานในระบบ (User Authorization)

ระบบ จะจัดการผู้ใช้งาน การใช้งานตามเมนู และแข่งเป็นกลุ่มผู้ใช้งานในระบบคลังสินค้า และยังรองรับ การใช้งานแบบ AD (Active Directory) ระบบแสดงผลการทำงาน (Dashboard)  เพื่อแสดงค่าต่างๆของคลัง  จำนวนใบรับ จำนวนใบจ่าย ประวัติย้อนหลังของการรับการจ่าย  พื้นที่การใช้งานของ คลังสินค้า สินค้าที่ใกล้หมดอายุ  สถานะของสินค้าต่าง  สถานที่เก็บสินค้าต่างๆ

รายงานต่างๆ (Report)

รายงานการรับสินค้า  รายงานค้างรับ  รายงานสินค้าคงคลัง  (สต๊อกสินค้า)  รายงานการจ่ายสินค้า รายงานการหยิบสินค้า  รายงานการจัดส่งสินค้า เป็นต้น

การเชื่อมต่อกับระบบ อื่น ๆ (Interface )

ระบบคลังสินค้า สามารถเชื่อมต่อกับระบบ ERP ต่าง เช่น  SAP ,SAP B1 , Dynamics AX ,Oracle ,ระบบ Automation  เป็นต้น โดยสามารถ ปรับแก้ไขโปรแกรม ได้ตามรูปแบบต่าง เช่น

Text File, Excel File, Web Service, API

Login