WMS คืออะไร ทำไมคุณต้องใช้?

WMS ย่อมาจาก Warehouse Management System ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการและควบคุมสินค้าและการดำเนินงานในคลังสินค้าได้ WMS สามารถให้การมองเห็นแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับตำแหน่ง ปริมาณ และสถานะของสินค้าทุกชิ้นในคลังสินค้า และยังเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการรับ เก็บ เลือก บรรจุ และจัดส่งสินค้า WMS สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากสำหรับธุรกิจที่มีการจัดการสินค้าสต๊อก เช่น ผู้ขายส่ง ผู้ขายปลีก ผู้ผลิต และผู้ให้บริการโลจิสติกส์

ประโยชน์ของ WMS

เพิ่มประสิทธิภาพ
การดำเนินงาน

WMS สามารถทำให้กระบวนการและการทำงานในคลังสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีระบบ เพื่อลดข้อผิดพลาด เสียเวลา เสียเงิน และต้นทุนแรงงาน WMS ยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ เช่น ERP, TMS, และ SCM เพื่อประสานและปรับเวลารถไหลของสินค้าตลอดโซ่อุปทาน

เพิ่มความพึงพอใจ
ของลูกค้า

WMS สามารถเพิ่มความถูกต้องและความเร็วในการจัดส่งสินค้า เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่ถูกต้อง ตรงเวลา และตรงที่หมาย WMS ยังสามารถเปิดโอกาสให้มีการจัดส่งที่ยืดหยุ่นและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า เช่น การจัดส่งในวันเดียวกัน การซื้อแล้วไปรับเอง และการจัดการคืนสินค้า


เพิ่มความถูกต้อง
ของสินค้า

WMS สามารถติดตามและอัปเดตระดับและตำแหน่งของสินค้าในเวลาจริง โดยใช้เทคโนโลยี เช่น บาร์โค้ด RFID และ IoT ซึ่งสามารถป้องกันการขาดสินค้า สินค้าเกิน สูญหาย และเสื่อมสภาพ และยังช่วยในการพยากรณ์และเติมสินค้า

เพิ่มความสามารถ
ในการตัดสินใจ

WMS สามารถให้ข้อมูลและการวิเคราะห์เกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลผลิตของการดำเนินงานในคลังสินค้า เช่น อัตราการหมุนเวียนของสินค้า อัตราการจัดส่งสินค้าที่ถูกต้อง การใช้แรงงาน และการใช้พื้นที่ เพื่อช่วยให้ผู้จัดการสามารถระบุปัญหา ความไม่มีประสิทธิภาพ และโอกาสในการปรับปรุง

วิธีเลือก WMS ที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ

มีผู้จำหน่าย และ พัฒนา WMS มากมายในตลาด โดยแต่ละประเภทและผู้ขายจะมีคุณสมบัติ ฟังก์ชัน และรูปแบบการกำหนดราคาที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการเลือก WMS ที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ นี่คือบางปัจจัยที่ควรพิจารณาเมื่อเลือก WMS

ความต้องการและเป้าหมายของธุรกิจ: คุณควรกำหนดปัญหาและความต้องการ การดำเนินงานในคลังสินค้าของคุณในปัจจุบัน เช่น การลดต้นทุน เพิ่มยอดขาย เพิ่มระดับบริการ คุณก็จะทราบ และหา WMS ที่ตรงตามความต้องการของธุรกิจคุณ

โดยทั่วไป คุณสมบัติของโปรแกรมควรจะมีดังนี้

ระบบการทำงานในส่วนของการทำการรับสินค้าหรือการรับคืนสินค้ากลับมายังคลังสินค้า ในขั้นตอนนี้การรับจะเป็นการสร้างแผนรับในระบบเอง การเชื่อมกับระบบ ERP ของลูกค้า หรือ การเชื่อมต่อข้อมูล ASN (Advanced Shipping Notice) จากผู้ขายในขบวนการรับนี้ สามารถพิมพ์สติกเกอร์ บาร์โค้ด เพื่อติดสินค้าหรือติดพาเลทได้ LPN (License plate number)

เมื่อทำการรับที่ลานรับสินค้า (Inbound Staging Area) ระบบคลังสินค้าสามารถที่จะทำการจัดเก็บสินค้า (Put a way) ได้ตามเงื่อนไขต่างๆ เช่น ตามกลุ่มของสินค้า, หมายเลขการผลิต (Lot),
วันที่หมดอายุ, สถานที่เก็บ เป็นต้น โดยระบบสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (PDA) และบาร์โค้ดแบบ 2D (QR Code) ได้

ระบบการทำงานในส่วนของการจ่ายสินค้าออกจากคลังสินค้า ในขั้นตอนนี้การจ่ายจะเป็นการสร้างแผนแผนจ่ายในระบบเอง, การเชื่อมกับระบบ ERP ของลูกค้า หรือ จากระบบ E-commerce ( Shopee , Lazada ) ในขบวนการจ่ายระบบคลังสินค้า สามารถทำการจ่ายได้แบบจ่ายทีละใบจ่ายหรือการรวมใบจ่ายเพื่อทำการจ่าย (Grouping Order) ในขั้นตอนการจ่าย ระบบรองรับจ่ายแบบ FIFO, FEFO หรือการกำหนดค่าการจ่ายได้ ระบบคลังสินค้า

เมื่อแผนจ่ายถูกปล่อยออกให้พนักงานในคลังทำการหยิบสินค้า ระบบจะทำการจองสินค้าเพื่อทำการจ่าย และรองรับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบบพกพา (PDA) ในการจ่ายสินค้า และสามารถพิมพ์ ใบจัดสินค้า (Picking List), ใบส่งสินค้า (Delivery Note), ใบแจ้งสถานที่จัดส่งสินค้า (Shipping Label) เป็นต้น นอกจากนี้ระบบคลังสินค้ายังรองรับ การทำการบรรจุสินค้า ( Packing ), การตรวจสอบสินค้าก่อนขึ้นรถ (Checker) การตัดสินค้าจากคลังสินค้า ระบบจะตัดเมื่อทำการ ยืนยันการจ่ายสินค้า (Ship Confirm)

ระบบการทำงานของคลังสินค้า ในการจัดการการย้ายสินค้า (Change Location), การเปลี่ยนสถานะ (Change Status), การนับสินค้ารองรับการนับแบบ Physical Count และ Cycle Count
และการปรับยอดสินค้า (Inventory Adjustment)

การตั้งค่าของการใช้งานสินค้าหรือสถานที่เก็บในระบบคลังสินค้า โดยผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าของสินค้า เช่น ชื่อ รหัสสินค้า รหัสบาร์โค้ด รูปสินค้า ขนาดน้ำหนัก เป็นต้น ระบบยังให้ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าของการควบคุมสินค้า แบบ FIFO, FEFO, SN (Serial Number) การตั้งค่าของสถานที่เก็บ สามารถกำหนดได้ว่า สถานที่เก็บนั้นสามารถวางสินค้าในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น การปนกันของชนิดสินค้า รหัสการผลิต การหมดอายุของสินค้า (Expiration Date) ขนาด และน้ำหนักของสถานที่เก็บที่รองรับสินค้า อีกทั้งยังรองรับลำดับการจัดเก็บ (Put a way sequence) ลำดับการจ่ายสินค้า ( Pick Sequence)

ระบบจะจัดการผู้ใช้งาน การใช้งานตามเมนู และแข่งเป็นกลุ่มผู้ใช้งานในระบบคลังสินค้า และยังรองรับ การใช้งานแบบ AD (Active Directory) ระบบแสดงผลการทำงาน (Dashboard) เพื่อแสดงค่าต่าง ๆของคลัง จำนวนใบรับ-ใบจ่าย ประวัติย้อนหลังของการรับการจ่าย พื้นที่การใช้งานของ คลังสินค้า สินค้าที่ใกล้หมดอายุ สถานะของสินค้าต่าง สถานที่เก็บสินค้าต่าง ๆ

รายงานการรับสินค้า รายงานค้างรับ รายงานสินค้าคงคลัง (สต๊อกสินค้า) รายงานการจ่ายสินค้า รายงานการหยิบสินค้า รายงานการจัดส่งสินค้า เป็นต้น

ระบบคลังสินค้า สามารถเชื่อมต่อกับระบบ ERP ต่าง เช่น SAP, SAP B1, Dynamics AX, Oracle, ระบบ Automation เป็นต้น โดยสามารถปรับแก้ไขโปรแกรม ด้ตามรูปแบบต่าง ๆ เช่น

Text File, Excel File, Web Service, API

Select the fields to be shown. Others will be hidden. Drag and drop to rearrange the order.
  • Image
  • Add to cart
  • SKU
  • Rating
  • Price
  • Stock
  • Availability
  • Weight
  • Dimensions
  • Additional information
Click outside to hide the comparison bar
Compare
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุ้กกี้ (Cookie) ในการวิเคราะห์ร่วมกับบุคคลที่สามเพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานจากการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราและเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ที่ผู้เข้าใช้งานจะได้รับให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้หากท่านเลือกที่จะปฏิเสธข้อตกลงการใช้งานคุ้กกี้ ท่านจะยังคงสามารถเข้าใช้บริการเว็บไซต์ของเราได้ตามปกติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

You can choose your cookie settings by enabling/disabling cookies for each category as needed, except for necessary cookies.

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า